ชื่องานวิจัย : ประสิทธิผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
|
ผู้แต่ง : นางสาว สุดารัตน์ เกตุรัตน์, จิรายุ เพชรประสิทธิ์
|
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
|
ปีที่ : 2018
|
ฉบับที่ : –
|
ปีที่วิจัย : 2018
|
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. กันตัง จ. ตรัง
|
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two-group pretest-posttest design) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนมวนที่สูบ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และระดับการติดนิโคตินของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างก่อนและหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับกลุ่มได้รับการนวดฝ่าเท้ากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการของโรงพยาบาลกันตังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ระหว่าง 1มกราคม – 31พฤษภาคม 2561 จำนวน 30 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าใน 5 จุดสะท้อนที่กำหนด โดยกดจุดละ 40 ครั้ง เป็นเวลา 20นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการนวดฝ่าเท้า 15 ท่า เป็นเวลา 20นาที และนัดกลุ่มตัวอย่างมารับบริการ 10 ครั้ง โดยนัดสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในลมหายใจออก ระดับการติดสารนิโคติน และจำนวนมวนที่สูบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และเปรียบเทียบผลการสูบบุหรี่ด้วยการทดสอบ ค่าที (t-test) โดยเปรียบเทียบจำนวนมวนที่สูบ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และระดับนิโคตินระหว่างก่อนและหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับกลุ่มนวดฝ่าเท้าด้วย Independent t-testกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ผลการศึกษา พบว่าจำนวนมวนที่สูบของกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้าหลังการทดลอง ( |
เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : ประสิทธิผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
|
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
|
บทความสั้น(Text): –
|
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
|
เจ้าของงานวิจัย : สุดารัตน์ เกตุรัตน์
|
ได้แล้ววันนี้