ชื่องานวิจัย : ประสิทธิผลและผลข้างเคียงของยาอัมรินทร์ในการบำบัดอาการชามือเท้า และปวดเมื่อย: การศึกษาเบื้องต้น
|
ผู้แต่ง : ชัยวัฒน์ จัตตุพร
|
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
|
ปีที่ : 5
|
ฉบับที่ : 3
|
ปีที่วิจัย : 2007
|
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลวังจันทร์ จังหวัดระยอง
|
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงจากการใช้ยาตำรับอัมรินทร์ในการบำบัดอาการชามือเท้าและอาการปวดเมื่อย, เปรียบเทียบกับยาหลอก, ในผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลวังจันทร์ จังหวัดระยอง 48 คน. ผู้ป่วย 25 คน เป็นกลุ่มทดลองได้รับยาตำรับอัมรินทร์ และ 23 คนเป็นกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก. หลังจากเริ่มการทดลอง 15 วัน มีผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างเหลือเพียงกลุ่มละ 17 คน และเมื่อสิ้นสุดโครงการครบ 3 เดือน เหลืิอกลุ่มตัวอย่าง 11 คน ผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เ็ป็นหญิง อายุ 41 – 60 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความาดันโลหิตสูง. ก่อนเริ่มการทดลอง 15 วัน ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ได้รับยา NSAIDs และในกลุ่มทดลองใช้ยาพาราเศตะมอล. หลังจากเริ่มต้นการทดลอง 15 วัน ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอาการดีขึ้น แต่ไม่แตกต่างกันโดยนัยสถิติ (ค่าพี > 0.05) เมื่อให้ยาครบ 3 เดือน ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีอาการดีขึ้นแต่ไม่แตกต่างกันโดยนัยสถิติ (ค่าพี > 0.05). พบผลข้างเคียงจากการให้ยา 3 คนโดยมีอาการเพียงเล็กน้อย และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบการทำงานของตับไต อยู่ในเกณฑ์ปรกติ. ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจในการรักษาร้อยละ 80 และในกลุ่มทดลองพอใจมากร้อยละ 20. การที่ผลการทดลองไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม อาจเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยเกินไป, อัตราการหยุดร่วมโครงการสูง, หรืออาจเป็นเพราะอาการที่ใช้เป็นตัวชี้วัดไม่เฉพาะเจาะจงพอ. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปคือเพิ่มจำนวนประชากรศึกษา.
คำสำคัญ: โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, ยาตำรับอัมรินทร์, อาการขามือเท้า, ปวดเมื่อย
The objective of this clinical research was to study the efficacy and side effects of a Thai traditional herbal preparation called “Ya Ammarin” compared with a placebo in patients with numbness of the extremities and myalgia. The study was carried out at Wangchan District Hospital, Rayong Province in patients who were at least 32 years old. There were 25 patients in the experimental group and 23 in the placebo group. Most of the participants were females aged 41-60 and the majority had diabetes or hypertension. Fifteen days prior to the beginning of the study, most of the control group took NSAIDs, while most of the experimental group took paracetamol. At 15 days and at three months after starting the medication, the symptoms of both groups were improved, but there was no statistically significant difference between the groups. Only mild side effects were observed in three patients, with no change in their liver or kidney functions. Eighty percent of both groups were satisfied with the treatment while 20 percent were very satisfied. The explanation for there being no statistically significant difference between the two groups could be a result of the small sample size and high drop-out rate. Therefore, it is recommended that further study should be conducted in a larger number of patients.
Key words: Ya Amarin, numbness of the extremities, myalgia |
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
|
บทความสั้น(Text): –
|
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
|
เจ้าของงานวิจัย : ชัยวัฒน์ จัตตุพร และคณะ
|
ได้แล้ววันนี้