1. หลักการและเหตุผล
สังคมไทยในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการเมืองและสังคมมากกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในเรื่องสุขภาพจิต ความเครียด และอาการเจ็บป่วยทางจิตมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งการขาดจริยธรรม ศีลธรรมต่างๆ ของคนไทยในสังคม ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งกายและจิตใจตามมา ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่ากายและจิตมีความสัมพันธ์กัน ความผิดปกติของจิตใจ และความเครียดส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยเป็นโรคทางกายได้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเมืองไทยแข็งแรง โดยมีเป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งทางกาย จิต สังคม เศรษฐกิจพอเพียงและปัญญา ซึ่งหลักการของสมาธิบำบัด มีหลักการเบื้องต้น คือการทำใจให้สงบและมีความสุข ซึ่งสมาธินั้นจะเป็นฐานของการพัฒนาปัญญาทั้งในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติ และการดำเนินชีวิตภายใต้ธรรมชาติแวดล้อมอย่างเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกันกัน และหากผู้ป่วยมีการดำเนินชีวิตที่ดีงามและถูกต้องย่อมส่งผลให้มีจิตใจที่ดี ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพทั้งกายและจิตของผู้ป่วยกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และเห็นว่าการพัฒนาเครือข่ายศูนย์สมาธิบำบัดในผู้ป่วยและญาติในสถานบริการสุขภาพ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ขณะเดียวกันเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายศูนย์สมาธิบำบัดในสถานบริการสุขภาพขึ้นมา จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ และการบำบัดรักษาโรค ทั้งกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข และกลุ่มผู้ป่วยรวมถึงญาติได้ด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการดำเนินงานดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายบุคลากรสาธารณสุขในการจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัดในผู้ป่วยและญาติในสถานบริการสุขภาพขึ้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี มีทักษะ และทราบแนวทางการดำเนินงานสมาธิบำบัด
2.2 เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในการหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัด
2.3 เพื่อระดมแนวคิดจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานสมาธิบำบัดในสถานบริการสุขภาพ
3. แนวทางการดำเนินการ
ปี 2549
คัดเลือกโรงพยาบาลหรือชุมชุนที่มีความเข้มแข็งและมีการการดำเนินการผสมผสานสมาธิเข้ากับการดูแลสุขภาพ จำนวน ๑๙ แห่ง จากนั้น
1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการหาแนวทางการจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัด ในสถานบริการที่คัดเลือก
2. จัดอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ สมาธิ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3. เกิดคณะกรรมการ ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานภายในศูนย์ฯ
4. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินงานและผลผลิตทางกิจกรรม
ปี 2550
1. เกิดศูนย์ต้นแบบเพื่อใช้เป็นที่ศึกษาดูงาน
2. ขยายศูนย์เพิ่มอีก ๖ แห่ง และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับสถานบริการแหล่งใหม่
3. พัฒนาศูนย์ฯ เก่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด
4. เริ่มเกิดการผสมผสานชมรมต่างๆในสถานพยาบาล / ศูนย์เดิมให้เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม
5. เกิดวิทยากรต้นแบบ และพัฒนาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษา แก่สถานบริการแห่งใหม่
6. มีการเผยแพร่ องค์ความรู้ และงานวิจัยสู่สาธารณชน
ปี 2551
1. มีการขยายกลุ่มเป้าหมาย ไปสู่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
2. พัฒนา ศูนย์ฯ เก่าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ให้ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด
3. สนับสนุนให้มีศูนย์ต้นแบบเพิ่มขึ้น
4. ชุมชนในเขตรับผิดชอบ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของศูนย์
5. สนับสนุนให้เกิดความสม่ำเสมอของสมาชิกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของศูนย์
6. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ และ งานวิจัยสู่สาธารณชน
ปี 2552 – 2553
ขยายกลุ่มเป้าหมาย ไปสู่เครือข่ายชุมชนในเขตรับผิดชอบของสถานบริการ ขั้นตอนการดำเนินงานมีดังนี้
1. สถานบริการแห่งนั้น คัดเลือกชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมของศูนย์
2. พัฒนาให้ทุกศูนย์ผ่านเกณฑ์และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นๆ
3. สนับสนุนให้วิทยากรต้นแบบเป็นครูพี่เลี้ยง หรือที่ปรึกษาให้กับชุมชน หรือหน่วยงานอื่นที่ร้องขอ
4. เกิดแผนงาน / โครงการในการดำเนินงานร่วมกับชุมชน หรือ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
5. นำเสนอ หรือ เผยแพร่องค์ความรู้ และงานวิจัยสู่สาธารณชน
4. ผลการจัดการสัมมนา :
– โครงการพัฒนาศูนย์สมาธิบำบัด ปี 2549 ณ วัดปัญญานันทาราม เลขที่ 1 หมู่ที่ 10 ตําบลคลองหก อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
รุ่นที่ 1 : วันที่ 9-13 มกราคม 2549
รุ่นที่ 2 : วันที่ 16-20 มกราคม 2549
– ตารางการจัดการสัมมนาการพัฒนาศูนย์สมาธิบำบัด ปี 2549 Download (pdf)
– รายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาศูนย์สมาธิบำบัด ปี 2549 Download (pdf)
(หากพบข้อผิดพลาดเกี่ยวกับรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา กรุณาติดต่อ นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ E-mail : churitt@yahoo.com)
– หัวข้อการสัมมนาฯ
วันจันทร์ที่ 9, 16 มกราคม 2549
“จิตวิวัฒน์” โดย นพ.ประสาน ต่างใจ
“สุขภาพองค์รวมแนวพุทธ Healthy Thailand สมาธิบำบัด” โดย นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ / (pdf) /
“การปฏิบัติจิตภาวนาสมาธิบำบัด” โดย พระครูสีลวัฒนาภิรม/9 มกราคม 2549 / รับฟังเสียง (wma 1)(wma 2) (wma 3) (ภาครวม) / , พระอาจารย์ประสิทธิ์/16 มกราคม 2549
วันอังคารที่ 10, 17 มกราคม 2549
จิตภาวนา
วันพุธที่ 11, 18 มกราคม 2549
“งานได้ผล คนเป็นสุข” โดย พอต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ / (pdf) /
“จิตสดใส แม้กายพิการ” โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
สัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง “การนำศาสนาเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพเพื่อให้ถึงเป้าหมาย HT”
นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย
“เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานสมาธิบำบัดของโรงพยาบาลต่างๆ” โดย สมพร เทพสุริยานนท์ / (pdf) /
วันพฤหัสบดีที่ 12, 19 มกราคม 2549
“ศูนย์สมาธิบำบัด” โดย นพ.ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ / (pdf) /
“งานสมาธิบำบัดในผู้ป่วยเรื้อรัง” โดย อ.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์ / (pdf) / รับฟังเสียง (wma 1)(wma 2) (wma 3) /
สัมมนากลุ่มย่อย เรื่อง “ความเป็นไปได้ และแนวทางในการจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัดปี 49”
นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อย
ประชุมกลุ่มรายจังหวัดเพื่อเขียนแผนปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/ชุมชน
วันศุกร์ที่ 13, 20 มกราคม 2549
“สมาธิบำบัดในงานจิตเวช” โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.จำลอง ดิษยวณิช / (pdf) / รับฟังเสียง (wma 1)(wma 2) /
ได้แล้ววันนี้