ชื่องานวิจัย : พฤติกรรมการบริโภคอาหารสมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนภาคใต้ ตำบลห้วยลึก จังหวัดสงขลา
|
ผู้แต่ง : วิไลวรรณ นะชาตรี
|
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
|
ปีที่ : 5
|
ฉบับที่ : 3
|
ปีที่วิจัย : 2007
|
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
|
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารสมุนไพรพื้นบ้านภาคใต้, เหตุผลการเลือกบริโภคและแหล่งที่มาของอาหารดังกล่าวของประชาชนตำบลห้วยลึก จังหวัดสงขลา จำนวน ๒๑๖ คน ซึ่งเป็นตัวแทน ๘๕๔ ครัวเรือน, เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างเป็นระบบ และวิธีเฉพาะเจาะจง, เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์, วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจกความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน. ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้จักชนิดของอาหารสมุนไพรพื้นบ้านทุกรสชาติ โดยจะนำกลุ่มที่มีรสเผ็ดร้อนและรสเปรี้ยวมาใช้บริโภคเกือบทุกวัน, ส่วนรสชาติอื่น ๆ บริโภค ๒-๓ เดือนครั้ง. กลุ่มตัวอย่างมีวิธีการเตรียมอาหารสมุนไพรพื้นบ้านหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับรสชาติของอาหาร โดยรสฝาด รสขม และรสมันส่วนใหญ่บริโภคสด, รสจืด รสหวาน รสเปรี้ยว และรสหอมเย็นใช้ประกอบอาหารได้หลายวิธี ทั้งกินสด ลวก ผัด ต้ม แกงกะทิ หรือแกงส้ม, รสเผ็ดร้อนส่วนใหญ่นำมาประกอบเป็นเครื่องปรุงอาหาร ได้แก่แกงกะทิ แกงส้ม. เหตุผลในการบริโภคอาหารสมุนไพรพื้นบ้านสามอันดับแรก คือ ปลอดภัยจากสารพิษ, หาได้ง่ายเพราะมีในท้องถิ่น และมีประโยชน์บำรุงสุขภาพ. สำหรับแหล่งของอาหารสมุนไพรพื้นบ้านส่วนใหญ่ได้จากแหล่งธรรมชาติในท้องถิ่น. คำสำคัญ: อาหารสมุนไพรพื้นบ้าน, พฤติกรรมการบริโภค, ภาคใต้ This descriptive study was conducted to describe local herbal food consumption behavior and the reasons for its consumption, as well as the sources of the local herbal food among people in Huayluksubdistrict, Songkhla Province. The sample consisted of 216 representatives of households living in Huayluk subdistrict. Systematic random sampling and purposive sampling techniques were used. Data were collected using a questionnaire; they were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean and standard deviation. The results revealed that the majority of subjects knew the local foods in almost all taste groups. Most consumed the foods in the spicy and sour groups almost daily, whereas foods in the other taste groups were consumed only 2-3 times per month. The subjects reported using several methods for food preparation depending on the nature of the taste. The three main reasons for eating local herbal foods: the people think that this type of food is safe and free from toxic substances, it is available locally, and it is good for health. The major source of the local herbal foods was home-grown crops.
Key words: herbal food, consumption behavior, southern Thailand |
เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : พฤติกรรมการบริโภคอาหารสมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนภาคใต้ ตำบลห้วยลึก จังหวัดสงขลา
|
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
|
บทความสั้น(Text): –
|
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
|
เจ้าของงานวิจัย : วิไลวรรณ นะชาตรี และคณะ
|
ได้แล้ววันนี้