เขียนโดย ดร. พรรณทิพา วัชโรบล
Biomolecular Therapy เป็นการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่างๆ โดยมีหลักการรักษาด้วยการใช้ เซลล์ซ่อมเซลล์ (การซ่อมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนอยู่ภายใน cytoplasm ของเซลล์ เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือการซ่อมเซลล์ที่เสื่อมสภาพโดยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจากเซลล์นั้นๆ) แนวคิดของวิชานี้เริ่มมาเมื่อประมาณ 500 ปีมาแล้ว จากนักวิทยาศาสตร์ ชื่อพาราเซลซัส (Paracelsus) ซึ่งเชื่อในหลักการว่า Life heals Life สิ่งที่เหมือนกันจะเข้าไปรักษากัน
Cell Therapy
เมื่อประมาณ ค.ศ.1931 ศาสตราจารย์ นพ.พอล นีฮาน (Dr.Paul Niehans) ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้นำแนวคิดของพาราเซลซัสมาใช้และค้นพบว่า เซลล์ที่เหมือนกันจะเดินทางไปรักษา ไปซ่อมเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะเดียวกัน เช่น เซลล์ของตับก็จะเดินทางไปรักษาตับ เซลล์ของหัวใจก็จะเดินทางไปรักษาหัวใจ แม้กระทั่งเซลล์เล็กๆ อย่างเช่นเซลล์ Optic Nerve ในกรณีคนที่เซลล์ Optic Nerve เสื่อม ตาใกล้จะบอด ก็จะเดินทางไปรักษา Optic Nerve รวมทั้งเซลล์สมองพวก Cerebrum, Cerebellum และ กลุ่มเส้นเลือดในสมองที่ควบคุมการสมดุลของน้ำในสมองกับตา สามารถรักษาได้ ทฤษฎีนี้เรียกว่า Cell heals Cell ในระยะเริ่มแรก นพ.นีฮาน ได้นำ เซลล์สดจากต่อมพาราไทรอยด์ จากสัตว์ที่ได้มาไม่เกิน 4 ชั่วโมง บดในน้ำเกลือ แล้วนำน้ำที่ได้ฉีดเข้ากล้ามให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เนื่องจากถูกตัดต่อมพาราไทรอยด์ ปรากฏว่าผู้ป่วยหายจากโรคชักเกร็งได้ และ จากการติดตามผลใน 25 ปี ต่อมา ผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้ใดๆ
ในระยะแรกนักวิจารณ์หลายคนกล่าวหา นพ.นีฮาน ว่าเป็นแพทย์ที่หลอกลวง หนึ่งในผู้คัดค้านอย่างหนักแน่นและสำคัญ คือ นพ.ฮานส์ ชมิดท์ (Dr.Hans Schmidt) เป็นบิดาแห่ง ชีววิทยาภูมิคุ้มกัน (Immuno-biology) เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ นพ.ชมิดท์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยา Rejection ที่เกิดขึ้นเมื่อมีโปรตีนแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย สิ่งที่ นพ.นีฮาน ทำอยู่ นพ.ชมิดท์ ถือว่าเป็นอาชญากรรมเลยทีเดียว นพ.ชมิดท์ตัดสินใจเดินทางไปเฝ้าดู นพ.นีฮาน ทำการเตรียมสารละลาย การฉีดยาให้ผู้ป่วย และ รอดูอาการผู้ป่วยที่ได้รับ Cell therapy ด้วยตนเอง ก่อน นพ.ชมิดท์ จะจาก นพ.นีฮาน เขาได้พูดว่า ”คุณได้ทำลายงานค้นคว้าตลอดชีวิตของผม ด้วยการฉีดยาเพียงเข็มเดียว” นพ.นีฮาน ส่ายศีรษะและพูดว่า “ไม่ใช่อย่างแน่นอน คุณพูดถูกต้องทุกอย่าง โปรตีนเก่าจะทำตัวเหมือนสิ่งแปลกปลอมและเกิดการต่อต้านภายใน 8 นาที แต่ไม่ใช่ Protoplasm ที่ยังอ่อนอยู่ แทนที่จะต่อต้านกลับไปซ่อมแซมอวัยวะ”
การรักษาวิธีนี้ในช่วงแรกๆ จะใช้ในกลุ่มบุคคลชั้นสูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง และไม่สะดวกเนื่องจากต้องไปนอนโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ Live Cell Therapy มีชื่อเสียงมากเมื่อคราวที่พระสันตะปาปา Pius ที่ 12 ป่วยหนัก มีอาการไม่สบายมาก สะอึกตลอดวันตลอดคืน รับประทานอาหารไม่ได้ นอนไม่ค่อยหลับ อ่อนเพลียมาก แพทย์หลวงหมดทางรักษา และลงความเห็นว่าท่านจะมีพระชนม์ชีพอยู่ต่อไปอีกไม่นาน จึงเชิญนายแพทย์นีฮานไปรักษา นพ.นีฮาน ตัดสินใจรับรักษาพระสันตะปาปาที่กรุงโรม ด้วยวิธี Live Cell Therapy ประมาณ 1 เดือน พระสันตะปาปา Pius ที่ 12 ก็กลับฟื้นขึ้นมาและมีสุขภาพแข็งแรงได้ราวปาฏิหาริย์ หลังจากนั้นก็มีผู้มีชื่อเสียง เช่น เชอร์ชิล กษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย จักรพรรด์ญี่ปุ่น ชาลีแชปปลิน มารับการรักษาด้วยวิธีนี้ การรักษาด้วย Cell Therapy ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปถึง 48 ประเทศ มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ถึง 2,000 ชิ้น มีทั้ง Research จากโรงพยาบาล จากคลินิก ทำทั้ง double blind ตามขบวนการของ Conventional ทำทั้ง ในสัตว์ และ ในคนในโรงพยาบาลเวียนนา ในแพทย์ที่ดูแลผู้สูงอายุ 2 กลุ่ม จากนักวิทยาศาสตร์หลายแห่ง มีทั้งวิทยานิพนธ์และบทความลงพิมพ์ในหนังสือ International Literature
Biomolecular Therapy
ต่อมาการรักษาด้วย Live Cell Therapy นับว่ายุ่งยากมากและค่าใช้จ่ายสูง เพราะทุก cell ต้องผ่านการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานของ Transplantation ทุกประการ ศาสตราจารย์ นพ.คาลล์ ทอยเรอร์ (Dr.Karl Theurer) ชาวเยอรมัน ได้พัฒนาการรักษาเป็น Cytoplasm Therapy โดยตั้งสมมุติฐานว่า ความสำเร็จของ Live Cell Therapy น่าจะเกิดจากสารชีวโมเลกุล (Biomolecule) ที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ที่ยังคงลักษณะทางชีวภาพไว้ได้ (Bioavailability) นพ.ทอยเรอร์ ค้นพบวิธี Acid-vapour-lysis ต่อ Lyophylized Organ Powder คือ การแยกสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ ด้วยการใช้กรด (ไม่ใช้น้ำ) ย่อยผนังเซลล์ภายใต้ความเย็นสูง แล้วแยกนิวเคลียสของเซลล์ออกไป สกัดเฉพาะ Cytoplasm เก็บภายใต้ภาวะสูญญากาศ ทำให้สามารถคงลักษณะชีวภาพไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ชีวโมเลกุลที่สกัดได้จากขบวนการดังกล่าว ยังทำให้เอกลักษณ์ของเซลล์ที่เรียกว่า HLA ซึ่งอยู่บนผนังเซลล์ถูกลบออกไป จึงไม่มีการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ปราศจากการแพ้โดยสิ้นเชิง แต่ชีวโมเลกุลนั้นยังคงสภาพทางด้านความจำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะได้อย่างครบ ถ้วน คือ Lyophylized ที่ได้จาก cell ของอวัยวะหนึ่ง จะไปรักษาอวัยวะนั้นๆอย่างจำเพาะเจาะจง หลังจากนั้นวิธีการดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร ไม่สามารถทำเลียนแบบได้ วิธีการนี้ทำให้ค่ารักษาถูกลงไม่ต้องใช้เงินมาก คนธรรมดาก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ เมื่อปี ค.ศ.1950 รัฐบาลเยอรมันได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ทำจากชีวโมเลกุล จำนวน 100 ตำรับ และ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ทุกชนิดอย่างได้ผลมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อประมาณ 25 ปี ที่ผ่านมานี้ ศาสตราจารย์ ดร.ไซเฟิร์ด บล็อก (Dr.Siegfried Block) ได้ทำการทดลองโดยใช้ Cytoplasm 3 ชนิด คือ Liver, Myocardium และ Kidney ย้อมด้วยกัมมันตภาพรังสีแล้วฉีดเข้าไปในหนู หลังจากฉีด 8 ชั่วโมง ได้ติดตามเซลล์ที่ฉีดเข้าไป โดยการผ่าตัดทุก 2 ชั่วโมง พบว่า เซลล์ที่เหมือนกันจะเดินทางไปซ่อมแซมเซลล์ชนิดเดียวกัน คือ Liver ไปยัง Liver, Myocardium ไปยัง Myocardium, Kidney ไปยัง Kidney เมื่อผ่าเซลล์ออกมานับ พบว่า จำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นหลังการฉีด
ในห้วงอายุของมนุษย์ โดยทั่วไปเซลล์ต่างๆจะแบ่งตัวชดเชยการสึกหรอประมาณ 50-60 ครั้ง จากการศึกษาพบว่า Biomolecular Therapy คือ ชีวโมเลกุล ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของ Human Cell มากเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมอีกประมาณ 4 – 6 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่าทำให้ช่วงอายุของคนเรายืนยาวขึ้นและแข็งแรงขึ้น จากการทำงานของเซลล์ต่างๆมีหัวใจหลักคือการสร้างโปรตีน แล้วโปรตีนที่ได้ก็ไปทำหน้าที่ต่างๆ เช่น เป็นน้ำย่อย เป็นฮอร์โมน เป็นเนื้อเยื่อ ฯลฯ การสร้างโปรตีนในเซลล์จะคล้ายการปั๊มตรายาง เมื่อใช้ไปนานๆเข้า น้ำหมึกเริ่มแห้งตรายางเริ่มสึก คุณภาพของการปั๊มก็จะเสียไป ชีวโมเลกุลจะไปซ่อมแซมดุจการซ่อมตรายางและเติมน้ำหมึก ทำให้คุณภาพการปั๊มดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การแพทย์ชีวโมเลกุลสามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิดปกติ ตลอดจนคำสั่งที่ผิดพลาดต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งจึงใช้เป็นการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด
ปัจจุบันมีแพทย์ประมาณ 20,000 คน ในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันใช้การแพทย์ชีวโมเลกุลในการรักษาผู้ป่วย และมีประเทศที่ให้การรับรองการรักษาด้วยวิธีนี้ทั่วโลกจำนวน 48 ประเทศ มีผู้เข้ารับการรักษาทั่วโลกประมาณ 180 ล้านคน ประสบผลสำเร็จในการรักษาและไม่พบอาการแพ้ของผู้ป่วย โรคที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาได้ด้วยการแพทย์ชีวโมเลกุล คือ โรคความเสื่อมทุกประเภท โรคหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ภูมิแพ้ รูมาตอยด์ กระดูกเสื่อม ไตวาย หัวใจล้มเหลว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทอง ความพิการทางสมอง ระบบประสาทถูกทำลาย โรคเครียด โรคตับ โรคสมองเติบโตช้าในเด็ก ปัญญาอ่อน โรคเลือด โรคเหงือกและฟัน โรคของตับอ่อน ต้อหิน ต้อกระจก ภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันไวเกิน โรคหู โรคตา โรคผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ภาวะมีบุตรยาก โรคผิวหนัง สิวหัวช้าง โรคเส้นเลือดตีบ พาร์กินสัน แผลในกระเพาะอาหาร มีสถิติที่น่าสนใจคือ โรคเรื้อรังต่างๆที่แพทย์ระบุว่าสิ้นหวังแล้ว สามารถทำให้ผู้ป่วยกระเตื้องขึ้น หรือ หายขาดจากโรคได้สำเร็จถึง 68%
ประสบการณ์การใช้ Macromolecular Cytoplasm Therapy โดย นพ.ริชชาร์ด เวเบอร์ (Dr.Richard Weber) ในการรักษาโรคที่เกิดจากความชรา กล่าวว่า Macromolecule ที่สกัดออกจากเซลล์ นำมาแยกเป็นโมเลกุลย่อยๆเพื่อให้มันละลายน้ำได้และปรับความเข้มข้นต่างๆกัน ต่ำสุดคือ 1 ในล้านล้านล้านเท่า ส่วนตัวที่สกัดมาครั้งแรกจะเก็บไว้ในรูปของ Dry substance ผลการรักษาโรคที่เกิดจากความชราด้วย Dry substance จะดีกว่าแบบ Dilution อย่างเห็นได้ชัด ในกรณีการอักเสบ การติดเชื้อ ภูมิแพ้ และ การรักษาไปนานๆ (long term) จึงใช้ Dilution ตลอดเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ปฏิกิริยามากที่สุด คือ อาการคัน และ อ่อนเพลีย เพียงรายเดียวเท่านั้น ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้และกำลังมีไข้ละอองฟาง เกิดอาการ 20 นาทีหลังจากได้รับ Dry substance No.64B อาการต่างๆหายไปเมื่อให้ Urbason
จุดเด่นของการรักษาด้วยชีวโมเลกุล
1. ใช้รักษาโรคที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว
2. ไม่มีการแพ้ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ใช้ได้แม้กระทั่งในเด็กทารก
3. เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่รักษาที่อาการ ยกตัวอย่างในโรคเบาหวานที่ต้องใช้ อินซูลิน ความผิดปกติอยู่ที่ IsIet cell of Langerhans แพทย์ปัจจุบันใช้อินซูลินจากภายนอกเข้าไปชดเชย ซึ่งต้องใช้ไปตลอดชีวิต ส่วนการแพทย์ชีวโมเลกุลจากตับอ่อนเข้าไปซ่อมเซลล์ตับอ่อน
4. เป็นการรักษาโดยการฟื้นฟูร่างกายทั้งระบบ การเจ็บป่วยของมนุษย์ไม่ได้เกิดเป็นอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แต่มักจะเชื่อมโยงทั้งระบบ การรักษาที่ได้ผลจึงเน้นการรักษาทั้งร่างกายแบบองค์รวม
5. ทำให้มนุษย์มีอายุขัยยืนยาวขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีตามสมควร “GIVE LIVE MORE YEARS AND GIVE YEARS MORE LIVE”
ข้อบ่งชี้ในการรักษา
1. ไม่สามารถรักษาโรคติดเชื้อได้
2. ได้ผลมากในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของอวัยวะ
3. รักษาโรคภูมิแพ้ Autoimmune ได้โดยต้องใช้ Autohaemo Therapy ร่วมด้วย
Autohaemo Therapy (Countersensitization)
ศ.นพ. คาลล์ ทอยเรอร์ อายุรแพทย์ชาวเยอรมัน ได้พัฒนาการรักษาโรคภูมิแพ้ จากความรู้ดั้งเดิมของชาวยุโรปที่รักษาโรคด้วยวิธี Homeopathy ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับคำว่า “หนามยอกเอาหนามบ่ง” คือเมื่อพบว่าภูมิแพ้เกิดขึ้นแล้วล่องลอยในกระแสเลือด ก็ใช้เลือดของตนเองมาช่วยในการรักษา วิธีการของ นพ. ทอยเรอร์ คือเจาะเลือดของผู้ป่วยในขณะที่กำลังเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ จำนวน 8 ซีซี แยกเอาเฉพาะซีรั่ม ซึ่งในซีรั่มนั้นจะมีภูมิคุ้มกันไวเกินที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อยู่ มาทำ Counter-sensitization โดยนำซีรั่มมาแยกเซลล์ที่ตกค้างออก ให้เหลือเฉพาะโปรตีน แล้วใช้ตัวกระตุ้นซีรั่ม (Serum activator) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างบางประการของภูมิคุ้มกันไวเกิน (Antibody) ให้มีสภาพเป็น Antigen แล้วฉีด Antigen ที่ได้เข้าใต้ผิวหนังประมาณ 10 ครั้ง ขบวนการนี้เปรียบเทียบได้กับการฉีดวัคซีน ร่างกายเมื่อได้รับการกระตุ้นก็จะสร้างภูมิคุ้มกันประเภท IgG ซึ่งภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้จะไปจับกับภูมิคุ้มกันไวเกินซึ่งอยู่ในกระแส เลือดของผู้ป่วย นั่นคือ แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับสารก่อภูมิแพ้ และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวเกินที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น แต่ภูมิคุ้มกันไวเกินที่เกิดขึ้นจะถูกภูมิคุ้มกันประเภท IgG เข้าไปจับ จึงไม่สามารถก่อปฏิกิริยาภูมิแพ้กับสารก่อภูมิแพ้ ผู้ป่วยก็จะปลอดจากโรคภูมิแพ้โดยปริยาย การรักษาวิธีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผู้ป่วยแพ้อะไรบ้าง และ ไม่ต้องทำการทดสอบเพื่อตรวจหาสารที่แพ้
Electroneural Diagnosis and Therapy (ENT)
คือ การวินิจฉัยโรคและรักษาโรคด้วย เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาที่ เรียกว่า Neuroport ซึ่งจะวัดค่าความจุไฟฟ้า และ ความต้านทานไฟฟ้า ตามจุดต่างๆบนผิวหนังของทั้งร่างกาย จำนวนกว่า 200 จุด ซึ่งแต่ละจุดมีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะภายใน เรียกว่า จุดปฏิกิริยา (Reaction Point) จุดเหล่านี้เมื่อเทียบกับผิวหนังส่วนอื่นๆ จะพบว่า มีค่าความจุไฟฟ้าสูงกว่า และ มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า จุดปฏิกิริยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบันมีกว่าร้อยจุด ประมาณครึ่งหนึ่งมีความเกี่ยวพันกับจุดฝังเข็ม ส่วนอีกครึ่งหนึ่งค้นพบขึ้นมาโดยการศึกษาวิจัย
ในภาวะปกติทั้งค่าความจุไฟฟ้า และ ค่าความต้านทานไฟฟ้า ของจุดปฏิกิริยาจะมีค่าอยู่ในช่วงมาตรฐาน แต่ในภาวะเจ็บป่วยหรือมีโรค จุดเหล่านี้มีค่าความจุและความต้านทานเปลี่ยนแปลง คือ มีค่าน้อยหรือมากเกินไป ซึ่งโดยทั่วไป การเจ็บป่วยทำให้จุดปฏิกิริยามี ค่าความต้านทานมากขึ้น และ ค่าความจุลดลง
ตำแหน่งของจุดปฏิกิริยา แสดงถึง อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ กระเพาะอาหาร ข้อศอก ข้อเข่า เท้า แม้กระทั่ง ฟัน บน-ล่าง ซ้าย-ขวา ฯลฯ ก็สามารถอ่านได้
หลักการรักษา คือ การปรับสมดุลทางไฟฟ้าของจุดปฏิกิริยา เมื่อได้รับการชดเชยพลังงานให้สมดุลแล้ว จะส่งผลในการปรับสมดุลและซ่อมแซมอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
ข้อบ่งใช้ คือ การเจ็บปวด และ โรคเรื้อรัง และ ข้อห้ามใช้ คือ ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบ มีไข้ วัณโรค มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ เส้นเลือดดำอักเสบ ชักเกร็ง หญิงตั้งครรภ์ ฯลฯ
Photo-Oxidation
คือ การผสมผสานทางกายภาพของ แสง กับ Oxygen หรือ ที่เรียกว่า Ultraviolet Blood Irradiation โดยการเจาะเลือดดำจากผู้ป่วยจำนวน 60 ซีซี ใส่ในขวดแก้วสูญญากาศที่มีสารกันเลือดแข็งตัว แล้วนำเลือดนั้นมาผ่านท่อที่มีแสง Ultraviolet และ Oxygen สูง ในเวลาสั้น จากนั้นก็นำเลือดนั้นกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้ง พบว่ามีผลคือ เพิ่ม Oxygen ให้กับเนื้อเยื่อ ช่วยการไหลเวียนของระบบเลือดฝอย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับความทนทานของร่างกายต่อการฉายแสงและเคมีบำบัด เพิ่มขบวนการย่อยสลาย cholesterol, uric acid และ น้ำตาลในเลือด แก้ไขปัญหาหลอดเลือดหดตัว ต่อต้านการติดเชื้อในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อบ่งใช้ การติดเชื้อทุกชนิด ภาวะพิษ (พิษงู และ สารเคมี) การบาดเจ็บ สมานแผล หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ ฯลฯ ข้อห้ามใช้ Porphyria, แพ้แสง, โรคเลือดออกผิดปกติ เช่น Hemophilia, Thyrotoxicosis, โรคถุงน้ำดีอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ฯลฯ
ความบ่อยในการรักษา ถ้าเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน รักษาวันละครั้ง หรือ วันเว้นวัน จนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือควบคุมได้ ถ้าเป็นภาวะเรื้อรัง รักษาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง x 3 สัปดาห์ ต่อไป สัปดาห์ละครั้ง x 4 สัปดาห์ ต่อไป ลดลงเรื่อยๆจนถึงทุก 2 เดือนครั้ง
ประวัติวิทยากร
ดร.พรรณทิพา วัชโรบล สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทการศึกษา สาขาจิตวิทยาและจิตวิทยาทางการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา
เป็นคนไทยที่ได้ศึกษา การแพทย์ชีวโมเลกุล ที่ประเทศเยอรมันได้รับ Diploma General Revatalization ภาควิชา Biomolecular Therapy และ Diploma Advance Biomolecular Therapy สาขา Organotherapy and Immunotherapy ของ Theurer และ Medal of Honor จากสถาบัน GEMOI ทางด้าน Geriatic (Multi-organ failure), osteoporosis and osteoarthritis
ค.ศ.2000 ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุล (Asian Vitorgan Biomolecular and Auto-Haemo Therapy) ในประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาและจัดอบรมในการรักษาด้วยวิธี Biomolecular Therapy, Autohaemo Therapy และการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วย Electroneural Diagnosis and Treatment และ Photosensitization แก่แพทย์ในแถบเอเชียทั้งหมด และ พัฒนาเป็นศูนย์ที่ทันสมัยโดยทำเป็น Electronic center (E-center) www.vitorgan.com และ www.biotherapycenter.com รับให้คำปรึกษาและรักษาทาง e-mail:info@biotherapycenter.com และ โทรศัพท์ เรียกว่า Teletherapy ประมวลผลเป็นกราฟในรูปแบบของ Somatogram เป็น Database ในการวินิจฉัยโรคร่วมกับข้อมูลอื่นๆ
นางจุฑา ลิ้มสุวัฒน์ บันทึกรายงาน
พ.ญ.กานดา ปัจจักขะภัติ รวบรวมและเรียบเรียงรายงาน
ที่มา : การบรรยาย เรื่อง “Biomolecular Therapy” โดย ดร.พรรณทิพา วัชโรบล ณ ห้องประชุมเบญจกูล สถาบันการแพทย์แผนไทย วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2546 เวลา 10.00-12.00 น.
ได้แล้ววันนี้